หลังจากที่คุณแม่ที่คลอดน้องออกมามาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการคลอดแบบธรรมชาติ หรือ การ ผ่าคลอด สิ่งสำคัญต่อจากนี้ไปคือ การดูแลแผลฝีเย็บ ที่เกิดจากการคลอดให้ถูกวิธี ซึ่งการดูแลแผลฝีเย็บที่ถูกวิธีจะช่วยให้คุณแม่ที่ทำการคลอดไม่เจ็บปวด อีกทั้งยังช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ ส่วน การดูแลแผลผ่าคลอด มีวิธีที่ช่วยให้ลด แผลเป็นนูน สำหรับวิธีการดูแลทั้งแผลทั้งสองแบบมีขั้นตอนวิธีการอย่างไรบ้าง เรามาดูกันค่ะ
วิธีการดูแลหลังคลอด สำหรับแผลฝีเย็บ
- สำหรับคุณแม่หลังคลอดใหม่นั้น แน่นอนการเจ็บปวดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังคลอดใหม่ คุณแม่สามารถวางถุงเย็นรอบๆ บริเวณปากช่องคลอด ซึ่งตรงส่วนนี้ การวางต้องระมัดระวังในเรื่องของผิวหนังแสบร้อนหรือเย็นจัด เนื่องจากคุณแม่หลังคลอด จะมีการใช้ยาชา ตรงบริเวณนี้ ฤทธิ์ของยาอาจจะคงมีอยู่
2. คุณแม่หลังคลอด อาจใช้ยาแก้ปวดช่วย เช่นยาพาราเซตามอล หรือสเปรย์แก้ปวดได้ โดยต้องปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ
3. ในช่วงแรก คุณแม่หลังคลอด ควรล้างทำความสะอาด แผลฝีเย็บ ด้วยน้ำต้มสุกก่อน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หลังจากนั้น จึงค่อยใช้น้ำสะอาดล้างแผลแทนได้ค่ะ ทั้งนี้คุณแม่หลังคลอด ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาล้างแผล หรือน้ำเกลือ แต่ทุกครั้งที่ล้างแผลแล้ว ควรใช้ผ้านุ่มและสะอาดซับบริเวณแผลที่ล้างให้แห้ง เพื่อป้องกันการอับชื้นต่างๆ
4. คุณแม่หลังคลอด ควรรักษาบริเวณปากช่องคลอดให้แห้งและสะอาด หลังการอาบน้ำทุกครั้ง ควรใช้ผ้าสะอาดซับให้แห้ง ในส่วนของกางเกงในควรเลือกใช้ชนิดที่เป็นผ้าฝ้าย ซึ่งคุณสมบัติของกางเกงในที่เป็นผ้าฝ้ายนั้น จะสามารถระบายอากาศได้ดีกว่าผ้าไนล่อนหรือใยสังเคราะห์ต่างๆ การเปลี่ยนผ้าอนามัย ก็ควรเปลี่ยนทุกๆ 4-6 ชั่วโมง เพื่อลดการสะสมเชื้อโรคและความชื้น ทั้งนี้การสวมใส่ผ้าอนามัยควรใส่ให้กระชับเพื่อลดการเสียดสีบริเวณแผล
5. ทุกครั้งที่คุณแม่หลังคลอด เข้าห้องน้ำเพื่อปัสสาวะ หรืออุจาระ ควรล้างทำความสะอาดไปทางด้านหลังของปากช่องคลอด ทั้งนี้เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากทวารหนักหรือช่องปัสสาวะ สำหรับกาเช็ดเพื่อซับแห้ง ทำความสะอาดหลังจากอุจจาระให้เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกสัมผัสแผล และระมัดระวังการในการใช้สายฉีดชำระล้าง เนื่องจากการใช้หัวฉีดชำระล้าง หลังจากคุณแม่หลังคลอดปัสสาวะและอุจจาระ หากไม่คุ้นเคยระดับความแรงของสายชำระ ให้ทดลองฉีดสังเกตความแรงของแรงดันน้ำก่อน เพราะหากน้ำแรงเกินไปอาจทำให้แผลฝีเย็บปริแตกได้
6. แผลฝีเย็บ ของคุณแม่หลังคลอด โดยปกตินั้นจะหายได้เองใน 1 สัปดาห์ การเย็บแผลฝีเย็บ ในปัจจุบันคุณหมอจะใช้ไหมละลายในการเย็บ ดังนั้นเมื่อครบกำหนดประมาณ 1 สัปดาห์ตัวไหมจะละลายได้เอง ไม่จำเป็นต้องตัดไหมค่ะ แต่แนะนำให้รับการตรวจเพิ่มเติม
สำหรับการดูแลสุขภาพของคุณแม่หลังคลอด การพักผ่อนสำคัญมาก
เมื่อคุณแม่กลับบ้านไปแล้ว หน้าที่ในการเลี้ยงลูกอาจส่งผลทำให้คุณแม่พักผ่อนน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามแนะนำว่าหากช่วงที่ลูกน้อยนอนหลับให้คุณแม่นอนหลับด้วยนะคะ ควรจะพักผ่อนให้ได้ 6 – 8 ชั่วโมงต่อวัน รวมถึงเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ และงดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอด
คุณแม่หลังคลอดต้องหมั่นสังเกต หรือเฝ้าดูอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น แผลบวมแดง หรือปวดแผลมากขึ้น มีไข้ มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือสีน้ำคาวปลาไม่จางลง แบบนี้ต้องรีบปรึกษาคุณหมอโดยด่วนนะคะเพราะอาจเกิดการติดเชื้อค่ะ
คุณแม่หลังคลอด กับการดูแลแผล ผ่าคลอด ไม่ให้เป็นแผลเป็น
คุณแม่ที่ผ่าตัดคลอด บริเวณหน้าท้องที่ผ่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้วทางโรงพยาบาลจะแนะนำว่าไม่ให้บริเวณแผลผ่าคลอด โดนน้ำ ทั้งนี้จะมีการป้องกันในส่วนแผลผ่าคลอดโดยการใช้แผ่นพลาสเตอร์ติดกันน้ำ ซึ่งตรงนี้สะดวกมากๆ โดยที่คุณแม่ผ่าคลอด สามารถอาบน้ำได้ปกติ และไม่ต้องทำแผล ในระหว่างที่ติดพลาสเตอร์กันน้ำ บริเวณแผลผ่าคลอด ก็คือสามารถอาบน้ำได้ปกติ และเมื่อคุณหมอน้ำแผ่นพลาสเตอร์กันน้ำ บริเวณแผลผ่าคลอดออกแล้ว ใน 1-2 วัน ก็สามารถอาบน้ำได้ปกติ แต่ก็ต้องระมัดระวังบริเวณแผล ห้ามแกะ แคะ เกา ควรปล่อยให้สะเก็ดแผลหลุดไปเองค่ะ
ทั้งนี้ช่วง 3 เดือนแรก คุณแม่ที่ผ่าคลอด แผลมีโอกาสเป็นคีลอยด์สูงมาก คือ แผลมีลักษณะนูนแดง สำหรับวิธีป้องกันคีลอยด์ แนะนำให้คุณแม่ผ่าคลอดไม่ควรยกของหนัก หลีกเลี่ยงการเดินขึ้นบันได ระมัดระวังการลุกนั่ง ไม่เดินและยืนนาน ๆ เพราะจะทำให้เลือดมาคั่งบริเวณแผล จะทำให้แผลบวมมากขึ้น และไม่ควรทำให้กล้ามเนื้อท้องต้องยืดเหยียดจนแผลตึงมากเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายกระตุ้นให้สร้างเส้นใยคอลลาเจน เพื่อทำให้แผลหนาแน่นขึ้น จนกลายเป็นแผลนูนบริเวณแผลผ่าคลอด ทั้งนี้ปกติแล้ว โรงพยาบาลจะจัดยาสำหรับทาแผลคีลอยด์ มาให้ด้วย ซึ่งยาดังกล่าวมีส่วนผสมของวิตามินอีและอาจมีสเตียรอยอ่อน ๆ ที่สามารถช่วยลดการนูนของแผลลงได้
เอาล่ะค่ะ ทั้งหมดก็เป็นสาระสำหรับคุณแม่หลังผ่าคลอด สำคัญที่สุดคือการรักษาความสะอาด และกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องออกแรงหนักๆ ขอให้คุณแม่ผ่าคลอดใหม่ หลีกเลี่ยงและระมัดระวังกันนะค่ะ